กศน.ตำบลน้ำคำแหล่งเรียนรู้ราคาถูก http://numcum.siam2web.com/

   กศน.ตำบลน้ำคำ
กศน.ตำบลนาใหญ่
กศน.ตำบลน้ำคำ 
กศน.ตำบลสระคู
กศน.ตำบลดอกไม้
กศน.ตำบลหินกอง
กศน.ตำบลทุ่งกุลา
กศน.ตำบลทุ่งหลวง
กศน.ตำบลทุ่งศรีเมือง
กศน.ตำบลจำปาขัน
กศน.ตำบลช้างเผือก
กศน.ตำบลหัวช้าง
กศน.ตำบลบ่อพันขัน
กศน.ตำบลเมืองทุ่ง
กศน.ตำบลหัวโทน
กศน.ตำบลห้วยหินลาด
 
  เศรษฐกิจพอเพียง
        แหล่งเรียนรู้

  

  ภูมิปัญญาท้องถิ่น
  กิจกรรม กศน.ตำบล

       


ข้อมูลชุมชนและฐานข้อมูล
เกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมาย (รายหมู่บ้าน)
 

 

หมู่ที่ 

ชื่อหมู่บ้าน 

จำนวนครัวเรือน 

ประชากรวัยแรงงาน 

จำนวนราษฎรทั้งหมด 

15-39 ปี 

40-59 ปี 

ชาย 

หญิง 

รวม 

1 

บ้านน้ำคำใหญ่ 

160 

196 

189 

300   

345 

645

2

บ้านหนองบัว 

187

356

208

415 

406

821

3

บ้านกวางโตน 

120

184

130

270

284

554

4

บ้านผักเผ็ด

104

177

170

255

232

487

5

บ้านจ้อก้อ

183

375

199

424

424

848

6

บ้านเหว่อ

87

98

91

156

154

310

7

บ้านโนนหมากแงว

228

422

236

450

465

915 

8

บ้านสวนมอญ

142

287

123

319

312

631

9

บ้านโนนสระพังยาง

48

97

48

112

121

233

10

บ้านดงสวนผึ้ง

118

239

136

263

252

515

11

บ้านเก่าน้อย

77

148

193

193

174

367

12

บ้านน้อยคูขาม

91

177

96

188

190

378

13

บ้านน้ำคำ

228

413

271

455

471

926

14

บ้านหนองบัวลอง

180

334

245

401

391

792

15

บ้านน้ำคำ

111

182

142

266

274

540

16

บ้านผักเผ็ด

144

228

142

316

331

647

รวม

2,208

3,913

2,619

4,783

4,826

9,609



สื่อการเรียนรู้ที่ได้รับการสนับสนุนจากเครือข่าย 

สื่อ

จำนวน

แหล่ง/วิธีการที่ได้มาของสื่อ 

 คอมพิวเตอร์/ปริ้นเตอร์

7

อบต.น้ำคำ / คณะกรรมการหมู่บ้าน / กศน.อำเภอสุวรรณภูมิ

ทีวี 2 /วิทยุเทปฯ 1

3

อบต.น้ำคำ / กศน.สุวรรณภูมิ

DVD / CD  

2

อบต.น้ำคำ / กศน.สุวรรณภูมิ

จานดาวเทียม 

1

กศน.สุวรรณภูมิ

เครื่องขยายเสียง

2

คณะกรรมการหมู่บ้าน/กศน.สุวรรณภูมิ

นิทรรศการ/บอร์ดกิจกรรม

20 เรื่อง

ครูและนักศึกษา/อส.กศน / อนามัย/พัฒนาชุมชน               

วีซีดี  ม้วนวีดีโอ  ม้วนเทป

200

กศน.สุวรรณภูมิ/เครือข่าย  CEO 

กล่องสามมิติ/ภาพพลิก

20/10 เรื่อง

เครือข่าย  CEO

หนังสือ/แบบเรียน

1,500

กศน.อำเภอสุวรรณภูมิ /รับบริจาค

หนังสือพิมพ์

1

สำนักงาน กศน.จังหวัดร้อยเอ็ด

โต๊ะ เก้าอี้ ตู้เย็น พัดลม

 

ติดตั้งอินเตอร์เน็ต

กองทุนหมู่บ้าน/คณะกรรมการหมู่บ้าน /รับบริจาค     เพียงพอกับผู้ใช้บริการ

 

TOT

 

  

ข้อมูลเกี่ยวกับสมาคมอาเซียน

คำขวัญ

 "One Vision, One Identity, One Community"
(หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม)

ประเทศสมาชิกในสมาคมประชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สัญลักษณ์อาเซียน

“ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้”
หมายถึง ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน โดยสีที่ปรากฏในสัญลักษณ์ของอาเซียน เป็นสีที่สำคัญของธงชาติของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซีย
สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า

สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ 
สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง

สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat)  ตั้งอยู่ที่่ กรุ่งจากาตาร์
เลขาธิการ : ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ (เริ่มดำรงตำเเหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2551
)
ปฏิญญากรุงเทพ     8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 
กฎบัตรอาเซียน
     16 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ภาษาราชการ
      ภาษาอังกฤษ อาเซียนเปิดตัวตราสัญลักษณ์การเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 40 ปีแห่งการก่อตั้งอาเซียนในระดับภูมิภาค 19 กุมภาพันธ์ 2550

ความเป็นมาของอาเซียน

   อาเซียนหรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Assciation of Southeast Asian Nations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ(The Bangkok Declaration ) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510โดยมีสมาชิกผู้ก่อตั้ง 5 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก-เฉียงใต้ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ได้ลงนามใน       
            “ปฏิญญากรุงเทพฯ” (Bangkok Declaration) เพื่อจัดตั้งสมาคมความร่วมมือกันในการเพิ่มอัตราการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม การพัฒนาวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคง ในพื้นที่และเป็นการเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติของระดับภูมิภาคของประเทศต่างๆ ในเอเชีย ในเวลาต่อมาได้มี บูรไนดารุสซาราม  (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 8 มกราคม 2527)สาธารณรัฐสังคมคมนิยมเวียดนาม (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 28 กรกฎาคม 2538) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 23 กรกฎาคม 2540) สหภาพพม่า (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 23 กรกฎาคม 2540) ราชอาณาจักรกัมพูชา (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 30 เมษายน 2542) ตามลำดับทำให้อาเซียนมีสมาชิกครบ 10ประเทศ

วัตถุประสงค์หลัก

          ปฏิญญากรุงเทพฯ ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ 7 ประการของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่
      1.  ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี
           วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
      2.  ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
      3.  เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
      4.  ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
      5. ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
     
6. เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
      7. เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การ ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ และองค์การระหว่างประเทศ
ตลอดระยะเวลา กว่า 40ปีที่มีการก่อตั้งอาเซียน ถือว่าได้ประสบความสำเร็จจนเป็นที่ยอมรับจากหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมืองเเละความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งประเทศไทยได้รับ ประโยชน์อย่างมากจากความร่วมมือต่างๆของอาเซียน   ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์จากการที่ภูมิภาค เป็นเสถียรภาพและสันติภาพ อันเป็นผลจากกรอบความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ความร่วมมือด้านสังคมและ วัฒนธรรม ซึ่งถ้าหากไม่มีความร่วมมือเหล่านี้แล้ว คงเป็นการยากที่จะพัฒนาประเทศได้โดยลำพัง  

วัตถุประสงค์ของอาเซียน (ASEAN)


             จากสนธิสัญญาความสามัคคีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้มีการสรุปแนวทางของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไว้จำนวนหกข้อ ดังนี้

             1.ให้ความเคารพแก่เอกราช อำนาจอธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณภาพแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ของชาติสมาชิกทั้งหมด
             2.รัฐสมาชิกแต่ละรัฐมีสิทธิที่จะปลอดจากการแทรกแซงจากภายนอก การรุกรานดินแดนและการบังคับขู่เข็ญ
             3.จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในของรัฐสมาชิกอื่น ๆ
             4.ยอมรับในความแตกต่างระหว่างกัน หรือแก้ปัญหาระหว่างกันอย่างสันติ
             5.ประณามหรือไม่ยอมรับการคุกคามหรือการใช้กำลัง
             6.ให้ความร่วมมือระหว่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ

หลักการพื้นฐานของความร่วมมืออาเซียน  

        ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้ยอมรับในการปฏิบัติตามหลักการพื้นฐาน ในการดำเนินงานในเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างกัน อันปรากฏอยู่ในกฎบัตรอาเซียนซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของอาเซียน ที่เพิ่งมีผลบังคับใช้เมื่อกลางเดือนธันวาคม 2551 และสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia หรือ TAC) ซึ่งประกอบด้วย
- การเคารพซึ่งกันและกันในเอกราช อธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณาการแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ประจำชาติของทุกชาติ
- สิทธิของทุกรัฐในการดำรงอยู่โดยปราศจากจากการแทรกแซง การโค่นล้มอธิปไตยหรือการบีบบังคับจากภายนอก
- หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน
- ระงับความแตกต่างหรือข้อพิพาทโดยสันติวิธี
- การไม่ใช้การขู่บังคับ หรือการใช้กำลัง
- ความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพระหว่างประเทศสมาชิก

          นอกจากหลักการข้างต้นแล้ว ตั้งแต่อดีตจนถึงช่วงก่อนที่กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้ อาเซียนยึดถือหลักการฉันทามติเป็นพื้นฐานของกระบวนการตัดสินใจและกำหนดนโยบาย มาโดยตลอด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การที่อาเซียนจะตกลงกันดำเนินการใดๆ ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมดทั้งสิบประเทศ จะต้องเห็นชอบกับข้อตกลงนั้นๆ ก่อน การที่อาเซียนยึดมั่นในหลัก ‘ฉันทามติ” และ “การไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน’ หรือที่ผู้สังเกตการณ์อาเซียน
เรียกว่า ‘วิถีทางของอาเซียน’ (ASEAN’s Way)ในทางหนึ่งนั้น ก็ถือเป็นผลดีเพราะเป็นปัจจัย ที่ทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก ในเรื่องระบบการเมือง วัฒนธรรมและฐานะทางเศรษฐกิจ มีความ ‘สะดวกใจ’ ในการเข้าร่วมเป็นสมาชิก และดำเนินความร่วมมือในกรอบอาเซียน แต่ในอีกทางหนึ่ง“ฉันทามติและ “การไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน”ก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในหลายโอกาสว่า เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้กระบวน การรวมตัวกันของอาเซียนเป็นไปอย่างล่าช้า รวมถึงทำให้อาเซียนขาดความน่าเชื่อถือ เนื่องจากถูกมองว่ากลไกที่มีอยู่ ของอาเซียน ล้มเหลว ในการจัดการกับปัญหา ของอาเซียนเองที่เกิดขึ้นในประเทศสมาชิกใดประเทศสมาชิกหนึ่งได้ อย่างไรก็ดี การยึดถือฉันทามติในกระบวนการตัดสินใจ ของอาเซียน ได้เริ่มมี ความยืดหยุ่นมากขึ้นหลังจากที่กฎบัตรอาเซียน มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2551  เนื่องจาก กฎบัตรอาเซียนได้เปิดช่องให้ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียน พิจารณาหาข้อยุติในเรื่องที่ประเทศสมาชิกไม่มีฉันทามติได้
 

โครงสร้างของอาเซียน

โครงสร้างของอาเซียนจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ ดังนี้

สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat)
            สำนักเลขาธิการอาเซียนได้จัดตั้งขึ้นตามข้อตกลงที่ลงนามโดยรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน
ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 1 ในปี 2519 เพื่อทำหน้าที่ประสานงานและดำเนินงาน
ตามโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ของสมาคมอาเซียน และเป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างสมาคมอาเซียน คณะกรรมการ ตลอดจนสถาบันต่าง ๆ และรัฐบาลของประเทศสมาชิก
            สำนักเลขาธิการอาเซียนตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตาประเทศอินโดนีเซียโดยมีหัวหน้าสำนักงานเรียกว่า “เลขาธิการอาเซียน” ซึ่งเมื่อเดือนกรกฎาคม 2545 ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 35 ได้แต่งตั้งนาย Ong Keung Yong” ชาวสิงคโปร์ เป็นเลขาธิการอาเซียนคนใหม่แทนนาย Rodolfo C. Severing Jr. เลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบัน โดยจะมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 5 ปี (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2546) และมีรองเลขาธิการอาเซียนจำนวน 2 คน (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งโดยชาว มาเลเซียและเวียดนาม)
สำนักงานอาเซียนแห่งชาติ หรือกรมอาเซียน (ASEAN National Secretariat)
           เป็นหน่วยงานในกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิก ซึ่งแต่ละประเทศได้จัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบ ประสานงานเกี่ยวกับอาเซียนในประเทศนั้น ๆ และติดตามผลของการดำเนินกิจกรรม/ความร่วมมือต่าง ๆ สำหรับประเทศไทยนั้น ได้มีการจัดตั้งกรมอาเซียนให้มีหน้าที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงานด้านอาเซียนดังกล่าว  

กฎบัตรอาเซียน 

         เป็นร่างสนธิสัญญาที่ทำร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นเครื่องมือ ในการวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรของสมาคม ทั้งนี้เพกฎบัตรอาเซียน เป็นร่างสนธิสัญญา ที่ทำร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นเครื่องมือในการวาง กรอบทาง กฎหมายและโครงสร้างองค์กรของสมาคม ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียน ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ภายในปี พ.ศ. 2558 ตามที่ผู้นำอาเซียน ได้ตกลงกันไว้ตามกำหนดการ จะมีการจัดทำร่างกฎบัตรอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพของอาเซียนในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัว เป็นประชาคมอาเซียน ภายในปี พ.ศ. 2558 ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ตามกำหนดการ จะมีการจัดทำร่าง กฎบัตรอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550

การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน


             ประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนได้จัดการประชุมขึ้น เรียกว่า การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ซึ่งประมุขของรัฐบาลของแต่ละประเทศสมาชิกจะมาอภิปรายและแก้ไขประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ รวมไปถึงการจัดการประชุมร่วมกับประเทศนอกกลุ่มสมาชิกเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

            การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งแรกจัดขึ้นที่จังหวัดบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ในปี พ.ศ. 2519 จากผลของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่สาม ณ กรุงมะนิลา ในปี พ.ศ. 2530 สรุปว่าผู้นำประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนควรจะจัดการประชุมขึ้นทุกห้าปี อย่างไรก็ตาม ผลของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งต่อมาที่ประเทศสิงคโปร์ ในปี พ.ศ. 2535 ได้เสนอให้จัดการประชุมให้บ่อยขึ้น และได้ข้อสรุปว่าจะมีการจัดการประชุมสุดยอดขึ้นทุกสามปีแทน ต่อมา ในปี พ.ศ. 2544 ผู้นำสมาชิกประเทศกลุ่มอาเซียนได้เสนอให้จัดการประชุมขึ้นทุกปีเพื่อแก้ไขประเด็นปัญหาด่วนที่ส่งผลกระทบในพื้นที่ ประเทศสมาชิกจะได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดขึ้นเรียงตามตัวอักษร ยกเว้นประเทศพม่า ซึ่งถูกยกเลิกการเป็นเจ้าภาพการประชุมในปี พ.ศ. 2549 เนื่องจากปัญหาทางด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีแรงกดดันจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547
การประชุมอาเซียนอย่างเป็นทางการมีกำหนดการสามวัน ดังนี้

            ประมุขของรัฐสมาชิกจะจัดการประชุมภายในประมุขของรัฐสมาชิกจะหารือร่วมกันกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในที่ประชุมกลุ่มอาเซียนการประชุมที่เรียกว่า "อาเซียนบวกสาม" ประมุขของรัฐสมาชิกจะประชุมร่วมกับประมุขของสาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ โดยจัดขึ้นพร้อมกับการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนการประชุมที่เรียกว่า "อาเซียน-เซอร์" ประมุขของรัฐสมาชิกจะประชุมร่วมกับประมุขของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์


อ้างอิงข้อมูลมาจาก
http://th.wikipedia.org

วันที่ 9 มิถุนายน 2553

พระราชประวัติ รัชกาลที่ 5

ทรง ครองราชย์ 42 ปี (พ.ศ. 2411-2453)
พระชนมายุ 58 พรรษา
เสด็จพระราชสมภพ 20 กันยายน พ.ศ.2396
พระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์

เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ ก่อนขึ้นครองราชย์ทรงดำรงพระยศเป็นกรมขุนพินิตประชานาถ พระองค์ได้ทรงสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ประเทศนานัปการ ทรงบริหารประเทศก้าวหน้าทัดเทียมนานาอารยประเทศ ทรงประกาศเลิกทาส ปรับปรุงระบบการศาล ตั้งกระทรวงยุติธรรม ปรับปรุงกฎหมายต่าง ๆ ส่งเสริมการศึกษาอย่างกว้างขวางในหมู่ประชาชนทั่วไป ตั้งกระทรวงธรรมการ ตั้งโรงเรียนฝึกหัดครู ส่งนักเรียนไทยไปศึกษาในยุโรป สร้างการรถไฟ โดยทรงเปิดเส้นทางเดินรถไฟสายกรุงเทพ ฯ ถึงนครราชสีมา เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2421 สร้างโรงไฟฟ้า จัดให้มีการเดินรถรางขึ้นในกรุงเทพ ฯ จัดตั้งการไปรษณีย์โทรเลข เมื่อ พ.ศ. 2421 สร้างระบบการประปา ฯลฯ

ด้านการต่างประเทศ ทรงมีวิสัยทัศน์กว้างไกลยิ่งนัก ได้ทรงนำประเทศไทยให้รอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตกได้ตลอดรอดฝั่ง โดยดำเนินวิเทโศบายผูกสัมพันธไมตรีกับประเทศมหาอำนาจเพื่อคานอำนาจ พระองค์ได้เสร็จประพาสยุโรปถึงสองครั้ง โดยได้เสร็จเยือนประเทศ ฝรั่งเศส รัสเซีย เยอรมนี อังกฤษ ออสเตรีย ฮังการี เบลเยี่ยม อิตาลี สวีเดน และเดนมาร์ก เมื่อ ปี พ.ศ. 2440

ทรงแต่งตั้งราชทูตไปประจำ ประเทศต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2424 ได้แก่ อิตาลี เยอรมัน เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ออสเตรีย ฮังการี เดนมาร์ก สวีเดน โปรตุเกส นอร์เว และ สเปน อังกฤษ ในปี พ.ศ. 2425 สหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2427 รัสเซียในปี พ.ศ. 2440 และญี่ปุ่นใน ปี พ.ศ. 2442

พระองค์ทรงปกครองอาณาประชาราษฎรให้เป็นสุขร่มเย็น โปรดการเสด็จประพาสต้น เพื่อให้ได้ทรงทราบความเป็นอยู่ที่แท้จริงของพสกนิกร ทรงสนพระทัยในวิชาความรู้ และวิทยาการ แขนงต่าง ๆ อย่างกว้างขวางและนำมาใช้บริหารประเทศให้ เจริญรุดหน้า อย่างรวดเร็ว พระองค์จึงได้รับถวายพระราชสมัญญานามว่า สมเด็จพระปิยะมหาราช ด้านการพระศาสนา ทรงทำนุบำรุง และจัดการให้เหมาะสมเจริญรุ่งเรือง

ทรงสถาปนามหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยขึ้น ณ วัดมหาธาตุ และมหามงกุฎราชวิทยาลัย ขึ้น ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อให้เป็นสถานศึกษาพระปริยัติธรรม และวิชาการชั้นสูง นอกจากนั้น ยังทรงสร้างวัดเทพศิรินทราวาส และวัดเบญจมบพิตร ซึ่งนับว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่ งดงามยิ่งแห่งหนึ่ง ของกรุงเทพ ฯ

ความล้ำลึกในพระปรีชาสามารถในด้านวรรณกรรม พระองค์ก็ทรงเป็นได้ทั้งกวี และ นักประพันธ์ที่มีความสามารถอย่างลึกซึ้งทีเดียว การแต่งโคลง ฉันท์ บทละคร กาพย์ กลอน หรือ ร้อยแก้ว ร้อยกรอง ทั้งที่พระองค์ทรงมีภารกิจอยู่มากมาย แต่ก็ด้วยพระวิริยะ อุตสาหะ ทรงสนพระทัยเป็นอย่างยิ่ง ดั่งที่ปรผลงานเป็นที่ประจักษ์มีมากกว่า ๓๐ เรื่อง ซึ่งก็มีบางเรื่องที่มีความหนาถึงกว่า ๕๐๐ หน้าก็มี ดั่งบางพระราชนิพนธ์ตอนหนึ่งของพระองค์

ความรู้ คู่เปรียบด้วย กำลัง กายเฮย
สุจริต คือเกราะบัง ศาสตร์พ้อง
ปัญญา ประดุจดัง อาวุธ คุมสติ
ต่างโล่ป้อง อาจแกล้ว กลางสนาม

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมเหสีและเจ้าจอมรวม ๙๒ พระองค์
มีพระราชโอรส ๓๒ พระองค์ พระราชธิดา ๔๔ พระองค์ ประสูติจากพระมเหสีและเจ้าจอมมารดาเพียง ๓๖ พระองค์ อีก ๕๖ พระองค์ไม่มี พระราชโอรส ธิดา เลย สำหรับพระมเหสีที่สำคัญจะกล่าวถึง มีดังนี้

๑. สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตนพระบรมราชเทวี (อัครมเหสีองค์แรก)
หรือ สมเด็จพระนางเรือล่ม อุบุติเหตุทางเรือที่เสด็จได้ล่มลง ทำให้ต้องสิ้นพระชนม์ พร้อมกับพระธิดา ที่มีพระชนมายุเพียง ๒ พรรษาเท่านั้น ส่วน สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์
พระบรมราชเทวี ก็มีพรรชันษาย่างเข้า ๒๑ พรรษา (๑ ปี ๙ เดือน ๒๐ วัน ) และก็กำลังทรงพระครรภ์ ๕ เดือน อยู่ดัวย อุบัติเหตุ เกิดที่ บางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เมื่อวันจันทร์ที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๒๓

๒. สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนาพระบรมราชเทวี (อัครมเหสีองค์ที่ ๒)
พระองค์ก็คือสมเด็จย่าของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลปัจจุบัน ต่อมาได้เลื่อน พระยศเป็น สมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สิ้นพระชนม์เมื่อ วันจันทร์ ที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ มีพระชนมายุ ๙๓ พรรษา

๓. สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
ทรงเป็นพระชนนีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พระองค์ทรงได้รับพระราชหฤทัยให้ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในช่วงที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาส ยุโรปเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔ ๐ (เสด็จครั้งแรก) พระองค์ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๐๖ สิ้นพระชนม์เมื่อวันพุธที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๒ มีพระชนมายุ ๕๖ ปี

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเก้าเจ้าอยู่หัว ทรงประชวร พระวักกะ (ไต) พิการ
กระทั่วเวลา ๒๔ นาฬิกา ๔๕ นาที ของคืนวันเสาร์ที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓
พระองค์ก็ เสด็จสู่สวรรคต รวมพระชนอายุ ๕๗ พรรษา ทรงเสวยราชย์ ๔๒ ปี

สมเด็จพระปิยมหาราช เป็นพระนามที่ได้รับการถวาย โดย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นผู้ทรงคิดถวาย ซึ่งปรากฏอยู่บนจารึกใต้ฐานของพระบรมรูปทรงม้า(๒๔๕๑) พระนามนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ได้ทรงเขียนชมเชย สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ได้คิดพระนามนี้ถวาย

 วันที่ ๒๓ ตุลาคมทุกๆ ปี ประชาชนคนไทยทั้งชาติ เป็นวันแห่งการรำลึกถึง พระองค์อย่างไม่มีเสื่อมคลาย วาระคล้ายวันที่พระองค์เสด็จสู่สวรรคต ซึ่งเป็นประเพณี วันสำคัญที่สุดอีกวันหนึ่ง วันรวมใจ เทิดพระเกียรติ พระปิยมหาราช ไว้ตลอดกาลนาน

23 ตุลาคม วันปิยมหาราช

 
bullet

วันปิยมหาราช เป็นวันที่เหล่าพสกนิกรชาวไทย นำดอกไม้ธูปเทียนพวงมาลามาถวายบังคมต่อ พระบรมราชานุสรณ์ ของพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือพระปิยมหาราช เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหาธิคุณนานาประการ ที่พระองค์มีต่อปวงชนชาวไทยอย่างหาที่สุดมิได้

bullet

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพศืรินทราบรมราชินี ประสูติเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 ตรงกับวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 คํ่า ปีฉลู ณ พระตำหนักตึกด้านหลังองค์พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง ทรงมีพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ครั้นมีพระชนมายุ 15 พรรษา ทรงได้รับเลื่อนกรมขึ้นเป็น กรมขุนพินิจประชานาถ

bullet

ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิจประชานาถ จึงได้เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 ขณะนั้นพระองค์มีชนมายุย่างเข้า 16 พรรษา นับเป็นพระมหากษัริตย์องค์ที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงค์ ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

bullet

หลังจากที่ขึ้นครองราชย์แล้ว พระองค์ได้ทะนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้า เพื่อหวังให้ทัดเทียมกับบรรดานานาอารยประเทศ ทรงโปรดให้มีการจัดการปฏิรูประเบียบแบบแผนการปกครอง เปลี่ยนแปลงแก้ไข จัดระเบียบราชการบริหารเสียใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของกาลสมัย ได้มีการแต่งตั้งตำแหน่งเสนาบดีและกระทรวงเพิ่มขึ้นใหม่ โดยแบ่งเป็น 12 ส่วน คือ กระทรวงมหาดไทย กรมพระกลาโหม กรมทำ กรมวัง กรมเมือง กรมนา กรมพระยาคลัง กรมยุติธรรม กรมยุทธนาธิการ กรมธรรมการ กรมโยธาธิการ และกรมมุรธาธิการ

bullet

นอกจากนี้ยังได้มีการให้ชำระกฎหมายและสร้างประมวลกฎหมายขึ้นมา สำหรับการศาลนั้น ให้มีการตั้งกระทรวงยุติธรรมเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2434 การศาสนาได้ให้มีการชำระและพิมพ์พระไตรปิฏก โดยโปรดให้สร้างพระไตรปิฏกฉบับทองทึบด้วคัมภีร์ใบลาน เมื่อปี พ.ศ. 2431 ตราพระราชบัญญติลักษณะการปกครองสงฆ์ ในปี พ.ศ. 2445 และโปรดให้มีการสร้างวัดสำคัญๆเช่น วัดเบญจมบพิตร วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม วัดเทพศิรินทราวาส วัดราชาธิวาส (โปรดให้รื้อใหม่หมด ) วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ (บางปะอิน) วัดอัษฎางคนิมิตร และวัดจุฐาทิศธรรมสภาราม (อยู่ที่เกาะสีชัง ) อีกทั้งโปรดให้มีการบูรณะวัด ได้แก่ วัดศรีรัตนศาสดาราม วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ วัดมงกฏกษัตริยาราม พระพุทธบาทสระบุรี วัดสุวรรณดาราม ( พระนครศรีอยุธยา ) พระปฐมเจดีย์ทรงสร้างต่อมาจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ

bullet

ได้มีการตั้งธนาคารไทยขึ้นในปี พ.ศ. 2447 โดยพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ร่วมกับกลุ่มบุคคลคณะหนึ่ง ก่อตั้งธนาคารไทยแห่งแรกขึ้น เรียกว่า บุคคลัภย์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2445 ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจดทะเบียนเป็น บริษัท แบงค์สยามกัมมาจลทุน จำกัด ดำเนินกิจการตามแบบสากล โดยคนไทยทั้งคณะ

bullet

นอกเหนือจากนี้ยังมีกิจการ การไฟฟ้า เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลของพระองค์ ในปี พ.ศ. 2433 การประปา ในปี พ.ศ. 2452 การพยาบาลและสาธารณสุข พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุนประเดิมให้สร้างโรงพยาบาลวังหลัง ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นโรงพยาบาลศิริราช โดยเริ่มเปิดดำเนินงานในวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2431

bullet

การขนส่งและการสื่อสาร โปรดให้มีการสำรวจพื้นที่สร้างทางรถไฟ จากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2431 และในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2434 ได้เสด็จพระราชดำเนินไปขุดดินก่อพระฤกษ์ เริ่มสร้างทางรถไฟสายนครราชสีมา นับเป็นรถไฟหลวงสายแรก (ทางรถไฟราษฎร์สายแรก คือ สายกรุงเทพ - ปากน้ำ ดำเนินงานโดยชาวเดนมาร์กคณะหนึ่ง เริ่มเปิดบริการเมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2436 ระยะทาง 21 กม. )

bullet

การไปรษณีย์ โปรดให้ตั้งกรมไปรษณีย์เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2426 เปิดกิจการเมื่อ วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2426 โดยเปิดใน พระนครเป็นปฐม ส่วนการโทรเลข ได้เริ่มงานในปี พ.ศ. 2412 โดยโปรดให้ชาวอังกฤษ 2 นายประกอบการขึ้น แต่ไม่สำเร็จ ทางราชการกระทรวงกลาโหมจึงรับช่วงมาทำเอง เมื่อปี พ.ศ. 2418 โทรเลขสายแรก คือ สายระหว่างกรุงเทพฯ กับ สมุทรปราการ ซึ่งยาว 45 กม. และยังมีสายใต้นํ้าที่วางต่อไปจนถึงประภาคารที่ปากน้ำเจ้าพระยา

bullet

การโทรศัพท์ กรมกลาโหมได้นำมาใช้ในขั้นทดลองเมื่อปี พ.ศ. 2424 โดยติดตั้งจากกรุงเทพ ฯ ถึงสมุทรปราการ เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2429 กรมโทรเลขได้รับโอนงานมาจัดตั้งโทรศัพท์กลางขึ้นในพระนคร และเปิดให้ประชาชนเช่าใช้โทรศัพท์ ติดต่อสื่อสารกันด้วย

bullet

ด้านการศึกษา โปรดให้ตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เมื่อปี พ.ศ. 2141 โดยมีหลวงสารประเสริฐ (น้อย อาจาริยางกูร ) เป็นอาจารย์ใหญ่ ปี พ.ศ. 2422 โปรดให้ตั้งโรงเรียนขึ้นที่พระราชวังนันทอุทยาน สวนอนันต์ ธนบุรี ปี พ.ศ. 2424 โปรดให้ตั้งโรงเรียน กรมมหาดเล็กแล้วยกเป็นโรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก ในปี พ.ศ. 2425 ย้ายไปอยู่พระตำหนักสวนกุหลาบ จึงเรียกกันว่า โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ นอกจากนี้ยังส่งเสริมเกี่ยวกับการศึกษาในต่างประเทศโดยทุนหลวง ฯลฯ

bullet

ในด้านวรรณคดี ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน ไกลบ้าน เงาะป่า ลิลิตนิทราชาคริต ฯลฯ และในรัชสมัยของ พระองค์ได้เกิดกวีนักปราชญ์คนสำคัญมากมาย อาทิเช่น พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย ) ผู้ประพันธ์แบบเรียนภาษาไทย 6 เล่ม และพรรณพฤกษากับสัตววาภิธาร ซึ่งแต่งใกล้ๆกันทั้งสองเรื่องในระยะ พ.ศ. 2427 เพื่อเป็นแบบสอนภาษาไทย นอกจากนี้ยังมี พระองค์เจ้าบรมวงค์เธอ กรมพระนราธิปประพันธพงค์ ซึ่งสร้างผลงานวรรณกรรมช้นเอกไว้มากมาย เช่น สาวเครือฟ้า อาหรับราตรี จดหมายเหตุลาลูแบร์ ทรงใช้พระนามแฝงว่า " ประเสริฐอักษร " กวีท่านอื่นๆ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงค์เธอ พระยาดำรงราชานุภาพ ผู้ทรงพระนิพนธ์ไทยรบพม่า นิราศนครวัด และ เทียนวรรณ ผู้มีผลงานทางวรรณคดีหลายเรื่อง

bullet

พระองค์ทรงโปรดให้มีการตั้งหอพระสุมดสำหรับพระนคร โดยรวมหอพระสมุดเดิม 3 นคร ในปี พ.ศ. 2417 ตั้งโบราณคดีสโมสร ในปี พ.ศ. 2450

bullet

ด้านการต่างประเทศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงขึ้นครองราชย์ในช่วงที่กำลังมีการล่าอาณานิคม แต่ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ทำให้ประเทศไทยรอดพ้นมาได้ แม้จะต้องเฉือนแผ่นดินบางส่วนให้ไปเรียกว่าเป็นการเสียแผ่นดินแดน บางส่วน แต่ก็ยังสามารถรักษาเอกราชไว้ได้

การเลิกทาส

bullet พระราชกรณียกิจอีกชิ้นหนึ่ง ที่แสดงถึงพระปรีชาสามารถของพระองค์ คือ การเลิกทาส ที่ไม่มีการเสียเลือดเนื้อ โดยเริ่มให้มีตราพระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุลูกทาสลูกไท ขึ้นในปี พ.ศ. 2417 โดยกำหนดให้ลูกทาสที่เกิดแต่ปีมะโรง พ.ศ. 2411 อันเป็นปีแรกที่พระองค์ครองราชย์ให้ใช้อัตราค่าตัวใหม่ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติ พออายุ ครบ 8 ปี ก็ถือว่าค่าตัวเต็มค่าแล้ว การเป็นทาสอีก และระบุโทษแก่ผู้ซื้อขายไว้ด้วย
bullet ในปี พ.ศ. 2420 เมื่อพระองค์มีชนมายุครบ 2 รอบ ได้บริจาคพระราชทรัพย์ไถ่ตัวทาสที่ขายตัวอยู่กับนายเงินคนเดียวมาครบ 25 ปี รวมทั้งลูกหลานทาสนั้น อีกทั้งพระราชทานที่ให้ทำกินด้วย พระราชดำริอันนี้ มีผู้เจริญรอยตามมาก ช่วยให้ทาสเป็นอิสระได้เร็วขึ้น อีกทางหนึ่ง
bullet ในปี พ.ศ. 2443 โปรดให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะทาสมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ ร.ศ. 119 ขึ้น โดยให้ลดค่าตัวทาสเชลยทั้งปวงในมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ คือ เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน ให้เป็นอัตราเดียวกันหมด และเมื่ออายุครบ 60 ปีแล้ว ก็ให้เป็นไทแก่ตัว ส่วนทาสสินไถ่ถ้ามีอายุครบ 60 ปีแล้ว ยังหาเงินมาไถ่ไม่ได้ ก็โปรดให้เป็นไทเช่นกัน
bullet ในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2447 ทรงประกาศลดค่าตัวทาสในมณฑลบูรพา โดยให้นายเงินลดค่าตัวทาสลงเดือนละ 4 บาท จนกว่าจะหมด และห้ามการซื้อขายทาสกันต่อไป
bullet ในปี พ.ศ. 2448 โปรดให้ตราพระราชบัญญัติทาสรัตนโกสินทร์ศก 125 ขึ้น เพื่อใช้บังคับทั่วพระราชอาณาจัก
bullet ด้วยพระปรีชาสามารถและการมีสายพระเนตรอันยาวไกล ในอีก 30 ปีต่อมา นับแต่มีพระราชดำริให้มีการเลิกทาส ในเมืองไทยก็ปราศจากทาสโดยสิ้นเชิง นอกจากนี้ประเทศไทยก็เจริญรุ่งเรืองเทียมเท่าบรรดาอารยประเทศ และรักษาความเป็นเอกราช ไว้ได้ตราบเท่าทุกวันนี้
bullet พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราชของปวงชนชาวไทย เสด็จสวรรคตในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 เมื่อมีพระชนมายุ 58 พรรษา รวมเวลาอยู่ในสิริราชสมบัตินับไดถึง 42 ปีเศษ การจากไปของพระองค์ยังความโศกเศร้ามาสู่พสกนิกร ของพระองค์โดยทั่วหน้า เมื่อถึงวันคล้ายวันสวรรคต จึงพร้อมใจกันนำพวงมาลาไปถวายบังคมพระบรมราชานุสรณ์ เพื่อรำลึกถึง พระมหากรุณาธิคุณ เป็นประจำทุกปี

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 24,628 Today: 5 PageView/Month: 50

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...